views

การทำลายสต็อก ไม่ใช่อยากจะทำลาย ก็ทำลายเลยได้นะ

HIGHLIGHTS
เมื่อกิจการประกอบธุรกิจไปเรื่อยๆ จะพบว่ากิจการเรามีของเสียจากการผลิต ทรัพย์สินที่เสียจนไม่สามารถใช้การได้ โดยปกติของเสียเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะทิ้งไปได้เลย จะต้องมีการแจ้งเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเพื่อทำลายสินค้า ทำไมต้องทำลายสินค้า 1️⃣️ สินค้าที่ถูกทำลายไม่ถือเป็นการขาย ดังนั้นจะไม่ต้องเสียภาษีขาย 2️⃣️ เมื่อทำลายสินค้า นิติบุคคลมีสิทธินำต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายสินค้า

ขั้นตอนการทำลายสินค้าที่ถูกต้อง

1.ตรวจสอบสินค้าว่าเสียหายจริงหรือไม่ตามระเบียบของบริษัท ส่งให้ผู้มีอำนาจอนุมัติว่าเสียตามที่ระเบียบบริษัทกำหนด

2.กรณีที่สินค้าได้รับคืนมาจากลูกค้า บริษัทจะต้องเก็บหลักฐานการรับคืน เอกสารดังกล่าวจะต้องระบบ

  • วันที่รับคืนสินค้า
  • สาเหตุการรับคืน
  • ชนิดสินค้า และปริมาณ
  • เลขที่อ้างอิงการสั่งซื้อสินค้าชนิดนั้น

3.เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลาย จะมีผู้เข้าร่วมการทำลายสินค้าอย่างน้อยดังนี้ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) พร้อมผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อทำลายเสร็จ ให้ทุกคนลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลายสินค้า

Download: http://www.rd.go.th/publish/26237.0.html


April 22, 2020
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ