views

บุคคลธรรมดาขายผ่าน Platform ใช้ยอดไหนยื่นรายได้เพื่อเสียภาษี

HIGHLIGHTS
ขายของผ่าน Platform ถ้าไม่ยื่นภาษีจะเสี่ยงใหม่ ปัจจุบันนี้ทาง Platform ไม่ว่าจะเป็น Lazada shopee ใช้ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งจะส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรด้วย ทางกรมสรรพากรจะทราบข้อมูลว่าร้านค้าไหน จ่ายค่าธรรมเนียมการขายให้กับ Platform กี่บาท แค่คำนวนยอดกลับมาก็จะทำให้รู้ยอดรายได้คร่าวๆ ของร้านค้าแล้วดังนั้นต้องลองลุ้นกันเองว่าไม่ยื่นภาษีจะรอดหรือไม่ครับ

ตั้งแต่ต้นปีมีผู้ประกอบการ Inbox มาสอบถามประเด็นนี้กันหลายคน ผมเลยถือโอกาสทำโพสสรุปประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับการขายของผ่าน Platform ให้เลยดีกว่าครับ จะได้ไม่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผิดกัน

1️⃣ ผู้ประกอบการหลายคนเข้าใจว่า “บุคคลธรรมดาเสียภาษีโดยยึดเกณฑ์เงินสด ดังนั้นรายได้คือยอดเงินเข้าบัญชี” อันนี้เป็นความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงมากที่อาจจะทำให้ยื่นภาษีไม่ครบถ้วน สำหรับเกณฑ์เงินสดถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย คือได้รับเงินจริงในปีไหนก็ให้ถือเป็นรายได้ในการยื่นภาษีปีนั้น และจ่ายเงินจริงปีไหนก็ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการยื่นภาษีปีนั้น โดยไม่ต้องสนใจว่ารายได้และค่าใช้จ่ายจะเป็นของรอบปีไหน

กรณีที่ขายสินค้าได้เงิน 100 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขาย 20 บาท ได้รับโอนเงินเข้าบัญชี 80 บาท รายได้ที่จะต้องนำไปเสียภาษีคือ 100 บาท ไม่ใช่ 80 บาทครับ

2️⃣ ขายขนส่งทำไมต้องเป็นรายได้ของร้านค้า? ทั้งๆ ที่เราไม่ได้รับเงินจริงคำตอบนี้อธิบายได้ง่ายคือทาง Platform ไม่ได้ออกใบเสร็จค่าขนส่งให้กับลูกค้า โดยโดยภาระให้ร้านค้าเป็นคนออกแทน ดังนั้นค่าขนส่งจึงถือเป็นรายได้ของร้านค้า สังเกตในภาพจะเป็นบรรทัดที่สองทาง Platform จะเสียเก็บค่าขนส่งทั้งหมดมาที่ร้านค้า เหมือนร้านค้าได้รับเงินจากลูกค้าแล้วก็ไปจ่ายเงินให้กับทาง Platform ทาง Platform ก็จะออกใบเสร็จค่าขนส่งมาที่ร้านค้าแทนทำให้เค้าทำงานง่ายขึ้น

3️⃣ รายได้ค่าขนส่งยกเว้น VAT ไม่ใช่หรอ? ทำไมร้านค้าต้องนำรายได้ค่าขนส่งมาเปิด VAT ให้กับลูกค้าค่าขนส่งจะได้รับยกเว้น VAT ก็ต่อเมื่อเราประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ (คือมีคนมาจ้างเราส่งของเราก็รับส่งของ โดยที่เค้าไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าจากเรา) ถ้าผู้ขายไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ การส่งของให้กับลูกค้าเพื่อให้การขายสินค้าช่วยให้การขายสินค้าสำเร็จ ผู้ขายต้องนำมูลค่าของสินค้า+ค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าขนส่งดังกล่าวถือเป็นการขายสินค้า

สุดท้ายขายของผ่าน Platform ถ้าไม่ยื่นภาษีจะเสี่ยงใหม่ ปัจจุบันนี้ทาง Platform ไม่ว่าจะเป็น Lazada shopee ใช้ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งจะส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรด้วย ทางกรมสรรพากรจะทราบข้อมูลว่าร้านค้าไหน จ่ายค่าธรรมเนียมการขายให้กับ Platform กี่บาท แค่คำนวนยอดกลับมาก็จะทำให้รู้ยอดรายได้คร่าวๆ ของร้านค้าแล้วดังนั้นต้องลองลุ้นกันเองว่าไม่ยื่นภาษีจะรอดหรือไม่ครับ


February 27, 2021
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ