views

เสน่หากับภาษี

HIGHLIGHTS
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการรับให้โดยเสน่หาที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคำนวณเป็นเงินนั้น กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับ “เงินได้” กรณีให้อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ ทั้งจากการอุปการะหรือจากการให้ โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส และจากการให้ในพิธีหรือตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี จากคนอื่นที่ไม่ใช่ บุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส ต้องนำเงินได้นั้นมาเสียภาษี

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา

 “เสน่หา” แปลว่า “ความรัก” เพราะฉะนั้นการให้โดยเสน่หาคือการให้ด้วยความรักนั่นเอง และถ้าเป็นความรักส่วนใหญ่แล้ว เราก็จะไม่หวังผลตอบแทนจากการให้ใช่ไหม?

ทรัพย์สินโดยเสน่หา ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเป็นการโดยเสน่หาเนื่องใน พิธี หรือ ตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี 

เช่น งานศพ งานแต่ง งานวันเกิด งานวันขึ้นปีใหม่ งานวันครบรอบบริษัท เป็นต้น

อาจจะให้เป็น  เงินสด เช็ค ที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือทรัพย์สินอื่นๆ

สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการรับให้โดยเสน่หาที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคำนวณเป็นเงินนั้น กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับ “เงินได้” ดังต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

***ทั้งกรณีอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ หากผู้ให้เจตนาเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์   ไม่ต้องเสียภาษี ครับ

การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา จะต้องมีมูลค่าไม่เกินสมควร และ ให้ในพิธีหรือตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้ที่ได้รับ จึงจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ


March 3, 2020
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ