views

ทำความรู้จัก “พร้อมเพย์” ก่อนจะพลาดสิ่งดีดี

HIGHLIGHTS
สรรพากรได้ชี้แจงแล้วว่าการใช้พร้อมเพย์เป็นช่องทางการโอนเงินช่องทางหนึ่งเช่นเดียวกับ การโอนเงินผ่านทาง e-Banking หรือผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีการส่งให้แก่กรมสรรพากร กรมสรรพากรมีอำนาจออกหมายเรียกให้ธนาคารส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน (ไม่ว่าจะทำผ่านช่องทางใดก็ตาม) ให้แก่กรมสรรพากรตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีรายนั้นยื่นเสียภาษีไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งกฎหมายให้ อำนาจไว้อย่างจำกัด

พร้อยเพย์ คือ การผูกบัตรประชาชน, เบอร์มือถือกับบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับใช้แทนเลขบัญชีในการทำธุรกรรมทางเงินประเภทต่างๆ เพื่อให้สะดวกในการทำธุรกรรมการเงิน

ข้อจำกัดของพร้อมเพย์

  • เลขบัตรประชาชนผูกบัญชีพร้อมเพย์ได้ 1 บัญชีเท่านั้น (ต้องเลือกให้ดีว่าจะผูกกับบัญชีอะไร)
  • เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ผูกต้องเป็นเบอร์มือถือเท่านั้น
  • 1 เบอร์ผูกได้ 1 บัญชีเงินฝาก และผูกได้สูงสุด 3 เบอร์ / 1 บัญชี

May 10, 2020
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ