views

ประกันสังคม มาตรา 33 39 และ 40 ต่างกันอย่างไร

HIGHLIGHTS
โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ 1️⃣ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป 2️⃣ มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ 3️⃣ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ

1️⃣ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

สำหรับใคร : สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

การให้ความคุ้มครอง : 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน : ลูกจ้างซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบของผู้ประกันตน : เงินสมทบ คือ 5% ของฐานเงินเดือน (สูงสุด 750 บาท/เดือน)

ฐานเงินที่ไว้คำนวน คือ เงินเดือนจริงที่ได้รับหรือ 15,000 โดยดูว่าจำนวนใดน้อยกว่า

2️⃣ มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ

สำหรับใคร : ผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก

การให้ความคุ้มครอง : 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การส่งเงินสมทบ :

  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน
  • คิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)

3️⃣ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

สำหรับใคร : ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระทุกอาชีพ

การให้ความคุ้มครอง : 3-4-5 กรณี (ขึ้นอยู่กับทางเลือกในการสมทบ)

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • อายุ15 ปีเป็นต้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (ผู้ที่มีอายุ 60-65 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2563)
  • ทำงานแบบไม่มีนายจ้าง


February 26, 2021
by ครูนัท

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ