.
⭕ กำหนดวัตถุประสงค์การกู้เงิน
ก่อนการตัดสินใจกู้เงิน เจ้าของกิจการควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้เงิน เพื่อเป็นการวางแผนให้นำเงินที่กู้มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น กู้เงินมาลงทุนซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต กู้เงินเพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ กู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ เป็นต้น
⭕ เตรียมวางแผนธุรกิจ
โดยในการวางแผนการกู้เงิน เจ้าของกิจการควรเขียนแผนธุรกิจซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเสนอต่อสถาบันการเงินหรือธนาคาร โดยในแผนธุรกิจนั้นต้องประกอบไปด้วยรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ ประเภทสินค้า รายรับรายจ่ายโดยประมาณในแต่ละเดือน ประมาณการผลกำไรที่ต้องการ กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของธุรกิจ เป้าหมายของธุรกิจและแผนการดำเนินงานในอนาคต
⭕ พิจารณาเงื่อนไขของสินเชื่อ
ในการขอสินเชื่อ ผู้ประกอบการควรพิจารณาเงื่อนไขของสินเชื่อ ได้แก่ วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย อายุสัญญา ระยะเวลาในการผ่อนชำระ หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน เป็นต้น โดยวงเงินกู้ควรเพียงพอต่อการนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และไม่ควรมากกว่าที่ต้องการเพราะจะทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระดอกเบี้ยจ่ายเกินกว่าความจำเป็น
⭕ ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ
ผู้ประกอบการควรประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ จากภาระหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละงวด ซึ่งไม่ควรเกินกว่าประมาณการกำไรในแต่ละเดือน เพื่อมิให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งกิจการที่มีประวัติผิดนัดการชำระหนี้จะขอสินเชื่อในครั้งต่อๆ ไปได้ยากขึ้น
⭕ เตรียมเอกสารให้พร้อม
ในการดำเนินการระดมทุน ผู้ประกอบการต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาติดขัดใดๆ โดยทั่วไปเอกสารที่ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมนั้นประกอบไปด้วย เอกสารประจำตัวของกิจการ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ใบทะเบียนการค้าและทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เอกสารทางการเงิน และเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ เป็นต้น
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- ที่ปรึกษาทางด้านภาษี
- อาจารย์พิเศษ