views

เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายคาร์บอนเครดิต

วันที่: 24 เมษายน 2561
เลขที่หนังสือ

กค 0702/พ.2673 กค 0702/พ/3206

วันที่

24 เมษายน 2561

ข้อกฎหมาย

มาตรา 81 (1) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (9) และมาตรา 77/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้

81/40636

ข้อหารือ

          ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ ราย บริษัท A จำกัด (บริษัทฯ) มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

          1. บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หยดผิวหนังเฉพาะที่ กำจัดตัวเบียนภายนอกของสุนัข เช่น เห็บของสุนัข ชื่อผลิตภัณฑ์ F 1 มีตัวยาหลักคือ Fipronil 10% W/V ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตามใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย เลขที่ 111/1111 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มีลักษณะเป็นของเหลวบรรจุในหลอดหยด วางบนฐานพลาสติก แล้วบรรจุลงกล่องอีกชั้นหนึ่ง ประโยชน์ใช้กำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง

          2. ผลิตภัณฑ์ FIPROLINE SPOT ON ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตามใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย เลขที่ 111/111 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เข้าลักษณะเป็นยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคสัตว์ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร           องค์การ A (องค์การมหาชน) (องค์การฯ) ได้หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีรายละเอียดสรุปได้ว่า องค์การฯ ได้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือโครงการ T-VER ขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยความสมัครใจ ตามที่ประชาคมโลกได้เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเทศไทยได้ยื่นข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงร้อยละ 7 และร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2573 ตามลำดับ โดยประเทศไทยได้นำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการและผ่านการรับรอง ซึ่งเรียกว่า คาร์บอนเครดิต ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศ ซึ่งเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่จะให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก องค์การฯ จึงหารือ ดังนี้

          1. ผู้ขายจำเป็นต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิตหรือไม่

          2. หากจำเป็นต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม จะจัดให้คาร์บอนเครดิตเป็นทรัพย์สินในหมวดใด และจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเท่าใด

          3. ผู้ขายจะสามารถลดหย่อนหรือยกเว้นการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิตได้หรือไม่ เนื่องจากคาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐในด้านการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งมูลค่าของคาร์บอนเครดิตที่ขายได้โดยเฉลี่ยต่อปีมีค่าประมาณ 60,000,000 บาท เท่านั้น (คิดจากค่าเฉลี่ยการรับรองคาร์บอนเครดิตประเภท TVERs 300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปีคูณด้วยราคาคาร์บอนเครดิตสูงสุด ซึ่งเป็นข้อมูลจาก 3 โครงการที่ขายได้จริง คือ 30-200 บาท ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

แนววินิจฉัย

          ผลิตภัณฑ์ F1 มีตัวยาหลักคือ FIPROLINE 10% W/V ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตามใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย เลขที่ 111/1111 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งไม่ปรากฏข้อความรับรองว่า ผลิตภัณฑ์ข้างต้นเป็นเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือ สารศัตรูหรือโรคสัตว์ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร           คาร์บอนเครดิตประเภท Voluntary Emission Reduction (VERs) เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างและอาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ เข้าลักษณะเป็นสินค้า ตามมาตรา 77/1 (9) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตประเภท VERs เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า เว้นแต่กรณีได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคา แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 78/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และหากผู้ขายคาร์บอนเครดิต ประเภท VERsเป็นผู้ประกอบการ ตามมาตรา 77/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิในการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เฉพาะส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต ไม่ว่าได้กระทำในหรือนอกประเทศ ทั้งนี้ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 514) พ.ศ. 2554