views

เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขออนุมัติหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินปันผลที่ได้รับจากนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่เสียภาษีแบบ Tax Consolidated Group

วันที่: 9 สิงหาคม 2561
เลขที่หนังสือ

กค 0702/6198 กค 0702/6284

วันที่

9 สิงหาคม 2561

ข้อกฎหมาย

มาตรา 50 ทวิ (1) มาตรา 52 มาตรา 59 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500

เลขตู้

81/40748

ข้อหารือ

          1. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้บริโภคเป็นการทั่วไปโดยในการประกอบกิจการนั้น มีทั้งร้านอาหารที่ลงทุนเอง และเปิดดำเนินงานเองโดยบริษัทฯ และร้านที่ให้สิทธิแฟรนไชส์แก่ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาลงทุนและเปิดดำเนินการ เป็นจำนวนหลายร้อยราย ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันภายใต้สัญญาการให้สิทธิแฟรนไชส์ บริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ และวัสดุที่จำเป็นในการดำเนินงานให้ รวมทั้งการให้บริการตรวจสอบเงินค่าขายที่ได้รับในแต่ละวัน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถเรียกเก็บเงินกรณีต่าง ๆ เช่น การทำตลาดส่งเสริมการขาย ค่าเช่าสถานที่ ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลังและค่าขนส่งสินค้าจากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ด้วย โดยในทางปฏิบัติ บริษัทฯ จะเรียกเก็บเงินค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ และค่าใช้จ่ายอื่นใด ทุกสิ้นเดือนโดยการหักจากเงินค่าขายอาหารที่รับแทน และเมื่อผู้ประกอบการแฟรนไชส์ได้รับเงินแล้วก็จะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาให้บริษัทฯ แต่เนื่องจากผู้ประกอบการแฟรนไชส์มีจำนวนมากและบางรายอยู่ในสถานที่ห่างไกล ทำให้บริษัทฯ ได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ครบถ้วนและต้องใช้เวลาในการติดตามรวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเวลานาน

          2. บริษัทฯ ขออนุมัติเป็นผู้ดำเนินการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงนามในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแทนผู้ประกอบการแฟรนไชส์ สำหรับค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ ค่าเช่าสถานที่ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลังและค่าขนส่งสินค้า           ตามหนังสือที่อ้างถึงบริษัท A. บริษัทฯ ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินปันผลที่ได้รับจากนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่เสียภาษีแบบ Tax Consolidated Group โดยมีรายละเอียดตามที่แจ้งมาสรุปได้ดังนี้

          1. บริษัทฯ . ถือหุ้นสามัญจำนวน ร้อยละ 100 ของบริษัท B. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ S.

          2. บริษัท B. ถือหุ้นร้อยละ 100 ของบริษัท C. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ S. และถือหุ้นร้อยละ 100 ของบริษัท D ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ S.

          3. บริษัท B.บริษัท C. และบริษัท D. ดำเนินการโดยมีผลกำไรหรือขาดทุนของแต่ละบริษัทตามกฎหมายของประเทศ S. โดยมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 30 แต่ในหลักการเสียภาษีของประเทศ S เป็นการเสียภาษีในแบบ Tax Consolidation Group โดยการรวมผลกำไรหรือขาดทุนของบริษัท B. บริษัท C. และบริษัท D. มารวมคำนวณและเสียภาษีรวมในนามของบริษัท B. ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ขอทราบว่า กรณีเงินปันผลที่บริษัท B. จ่ายให้แก่บริษัท A จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 5 วีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2548 หรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

          1. กรณีบริษัทฯ ได้รับเงินค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ ค่าเช่าสถานที่ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลัง และค่าขนส่งสินค้า ซึ่งผู้จ่ายเงินดังกล่าวมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ผู้จ่ายเงินดังกล่าวมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับบริษัทฯ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง มาตรา 59 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

          2. เนื่องจากผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม 1. มีจำนวนมากและบางรายอยู่ในสถานที่ห่างไกล ทำให้บริษัทฯ ได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ครบถ้วนและต้องใช้เวลาในการติดตามรวบรวมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเวลานาน ดังนั้น กรณีที่บริษัทฯ มีความประสงค์เป็นตัวแทนของผู้จ่ายเงินได้ เพื่อออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงิน เข้าลักษณะเป็นการกระทำแทนตัวการ ตามมาตรา 797 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบริษัทฯ มีสิทธิกระทำได้ โดยผู้จ่ายเงินจะต้องจัดทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนมอบอำนาจให้บริษัทฯ กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้บริษัทฯ ซึ่งเป็นตัวแทนดำเนินการดังนี้

               (1) กรณีบริษัทฯ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม 1. ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินรายเดิม โดยมีสาระสำคัญว่า บริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ ค่าเช่าสถานที่ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลัง และ ค่าขนส่งสินค้า ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทน และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทน โดยกำหนดระยะเวลาให้ผู้จ่ายเงินนั้นตอบรับ เมื่อผู้จ่ายเงินตอบรับแล้ว ให้ถือว่าหนังสือแจ้งเป็นข้อตกลงแต่งตั้งให้บริษัทฯ เป็นตัวแทนได้ แต่หากเป็นผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย รายใหม่ จะต้องมีการแต่งตั้งตัวแทนอย่างชัดแจ้ง

               (2) กรณีบริษัทฯ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ ค่าเช่าสถานที่ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลัง และค่าขนส่งสินค้า แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ผ่อนผันให้ผู้จ่ายเงินไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ ค่าเช่าสถานที่ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลัง และค่าขนส่งสินค้า ให้กับบริษัทฯ ในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นรายฉบับทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน แต่บริษัทฯ ต้องจัดทำรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย และบริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว

               รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

                    (ก) คำว่า รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประจำเดือน พ.ศ. ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

                    (ข) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยมีข้อความว่า ในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินได้ตามรายชื่อที่ระบุไว้ในเอกสารนี้

                    (ค) ประเภทเงินได้

                    (ง) ชื่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงิน จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนเงินภาษีที่หักไว้

                    (จ) ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

               (3) เพื่อเป็นการรับรองว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ให้บริษัทฯ ระบุข้อความเพิ่มเติมในใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีของค่าบริการให้สิทธิแฟรนไชส์ ค่าเช่าสถานที่ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าบริหารสินค้าคงคลัง และค่าขนส่งสินค้า โดยมีข้อความว่า บริษัทฯ ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ร้อยละ 3 ร้อยละ 2 หรือร้อยละ 1 เป็นจำนวน บาท แทนผู้จ่ายเงินแล้ว และจะดำเนินการนำส่งภาษีดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งบริษัทฯ จะต้องจัดให้มีการ SCAN หรือพิมพ์ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจไว้ในใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย

               (4) ให้บริษัทฯ ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 โดยระบุในช่องผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายว่า บริษัทฯ ในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินในใบแนบ ภ.ง.ด.53 พร้อมทั้งแนบรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งระบุชื่อผู้จ่ายเงิน เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงิน จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หัก และให้ถือว่าเอกสารรายละเอียดดังกล่าวเป็นใบต่อแบบ ภ.ง.ด.53 ด้วยซึ่งจะจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ และให้ถือว่าเป็นบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษีตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531

               (5) ให้บริษัทฯ ใช้สำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 และหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่รับชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษี ตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร           กรณีบริษัท ฯ ได้รับเงินปันผลจากบริษัท B. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ S. แม้บริษัทฯ ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาจนถึงวันที่ได้รับเงินปันผล แต่หากเงินปันผลที่บริษัทฯ ได้รับดังกล่าวมิได้มาจากกำไรสุทธิเฉพาะในส่วนของบริษัท B. ที่มีการเสียภาษีในประเทศ S.ซึ่งมีอัตราภาษีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิแล้ว บริษัทฯ ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลดังกล่าว ตามมาตรา 5 วีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 442) พ.ศ. 2548